Firewall คือ เครื่องมือรักษาความปลอดภัยเครือข่ายที่ทำหน้าที่เป็นยามเฝ้าประตูสำหรับคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ หรือเครือข่าย โดยทำหน้าที่ตรวจสอบและคัดกรองการรับส่งข้อมูลเข้าออกอุปกรณ์ และป้องกันการเข้าถึงไฟล์โดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่อไฟร์วอลล์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะป้องกันผู้โจมตีทางไซเบอร์จากการบุกรุกเข้าสู่อุปกรณ์ และปกป้องข้อมูลส่วนตัวจากการโจรกรรมข้อมูล

คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลส่วนใหญ่มักจะมีไฟร์วอลล์พื้นฐานติดตั้งมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ แต่โดยปกติแล้วจะให้ระดับความปลอดภัยที่จำกัด สำหรับธุรกิจ องค์กร และบุคคลที่มีความต้องการด้านความปลอดภัยที่สูงขึ้นและเฉพาะเจาะจง อาจจำเป็นต้องใช้ไฟร์วอลล์ประเภทอื่นๆ เพื่อปกป้องข้อมูลจากภัยคุกคามด้านความปลอดภัย

เช่น

  • ไฟร์วอลล์แบบพร็อกซี (Proxy Firewall หรือ Application-Level Gateway)
  • การกรองแพ็คเก็ต Stateful Inspection Firewall (Dynamic Packet Filtering)
  • ไฟร์วอลล์แบบจัดการภัยคุกคามแบบรวมศูนย์ (Unified Threat Management - UTM)
  • ไฟร์วอลล์แบบ Next-generation Firewall (NGFW)
  • ไฟร์วอลล์ที่ป้องกันภัยคุกคามบนเว็บแอพพลิเคชั่น (Web Application Firewalls - WAF)
  • ไฟร์วอลล์เสมือน (Virtual Firewall)
  • ไฟร์วอลล์บนคลาวด์ (Firewall as a Service หรือ Cloud Firewall)

ซึ่งไฟร์วอลล์แต่ละประเภทมาพร้อมกับคุณสมบัติ และข้อดีเฉพาะตัว เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป

ในบทความนี้ Sangfor จะพามารู้จักกับไฟร์วอลล์แต่ละประเภท การใช้งานและประโยชน์ รวมถึงวิธีเลือกใช้ไฟร์วอลล์ที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความปลอดภัยของอินเทอร์เน็ต และเครือข่ายให้สูงสุด

What is a Firewall image

ประโยชน์ของ Firewall?

อุปกรณ์ดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเราแทบทุกด้าน จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา จาก 413 ล้านคนในปี 2000 เป็นมากกว่า 4,600 ล้านคนในปี 2022 ในขณะที่ประสิทธิภาพ และความสะดวกของเทคโนโลยียังคงพัฒนาต่อไป ส่งผลให้ภัยคุกคาม และศักยภาพของซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจเช่นกัน โดยคนทั่วไป และธุรกิจจำนวนไม่น้อยมักเผชิญภัยคุกคามด้านความปลอดภัยเมื่อเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่าย ซึ่งไฟร์วอลล์จะทำหน้าที่เป็นแนวป้องกันด่านแรกที่ปกป้องข้อมูลไม่ให้ถูกขโมยเมื่อใช้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ดิจิทัล
สรุปง่ายๆ คือ ไฟร์วอลล์อินเทอร์เน็ตให้ความปลอดภัยโดยป้องกันการเข้าถึงหรือออกจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต เปรียบเสมือนกรมตรวจคนเข้าเมือง และศุลกากรที่คอยเฝ้าชายแดนของประเทศ โดยไฟร์วอลล์ใช้กฎความปลอดภัยที่กำหนดไว้ล่วงหน้าชุดหนึ่งสำหรับตัดสินใจว่า อะไรสามารถเข้ามา และอะไรสามารถออกไปได้ พร้อมตรวจจับการรับส่งข้อมูลที่น่าสงสัยและไม่ได้รับอนุญาต (เช่น การโจมตีทางไซเบอร์) และบล็อกไม่ให้เข้าสู่เครือข่ายหรืออุปกรณ์

ประวัติของไฟร์วอลล์

ยุคที่ 1 - ปลายทศวรรษ 1980: ไฟร์วอลล์แบบกรองแพ็คเก็ต

ไฟร์วอลล์รุ่นแรกถูกพัฒนาโดยบริษัท Digital Equipment Corporation (DEC) ในปี 1988 ซึ่งยุคนี้นิยมเรียกว่า ไฟร์วอลล์แบบกรองแพ็คเก็ต เนื่องจากทำหน้าที่ตรวจสอบแพ็คเก็ตข้อมูลที่ถูกส่งระหว่างคอมพิวเตอร์ต่างๆ ในเครือข่าย โดยอาศัยชุดกฎควบคุมที่ระบุว่าอะไรสามารถผ่านได้ และอะไรไม่สามารถผ่านได้ ซึ่งใช้หลักการคล้ายกับไฟร์วอลล์ในปัจจุบัน แต่ฟังก์ชัน และคุณสมบัติยังไม่ซับซ้อนมากนัก เนื่องจากภัยคุกคามที่ต้องจัดการไม่ได้ซับซ้อนเท่ากับภัยคุกคามในปัจจุบัน

ยุคที่ 2 - ทศวรรษ 1990: ไฟร์วอลล์แบบตรวจสอบสถานะ

ไฟร์วอลล์เหล่านี้ตรวจสอบสถานะเซสชัน (Session) และการเชื่อมต่อของแพ็คเก็ต ซึ่งช่วยให้สามารถตรวจสอบแพ็คเก็ตได้ถี่ถ้วนยิ่งขึ้น และปรับปรุงความปลอดภัยสำหรับคอมพิวเตอร์และเครือข่าย

ยุคที่ 3 - ทศวรรษ 2000: ไฟร์วอลล์ระดับแอปพลิเคชัน

เมื่ออินเทอร์เน็ตพัฒนาและได้รับความนิยมทั่วโลกในช่วงทศวรรษ 1990 ส่งผลให้ภัยคุกคามทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ธุรกิจหลายแห่งได้รับผลกระทบจากการโจมตีทางไซเบอร์ และต้องการตัวเลือกด้านความปลอดภัยที่ดีขึ้นอย่างเร่งด่วน ไฟร์วอลล์ระดับแอปพลิเคชันถูกพัฒนาขึ้นในช่วงนี้ เพื่อรับมือกับภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตรูปแบบใหม่ ซึ่งทำงานบนระดับแอปพลิเคชัน และสามารถตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดที่ผ่านซอฟต์แวร์ที่กำลังทำงานอยู่ได้ โดยจัดการแอปพลิเคชันที่ส่ง และรับข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บเบราว์เซอร์

ยุคถัดไป - ตั้งแต่ทศวรรษ 2010 เป็นต้นมา: แซนด์บ็อกซ์ (Sandbox) การให้ระบบเรียนรู้ด้วยตนเอง (Machine Learning, ML) และอื่นๆ

อินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นเครื่องมือประจำวันสำหรับคนส่วนใหญ่ทั่วโลก เทคโนโลยีคลาวด์ค่อยๆ เข้ามาแทนที่ความจำเป็นของศูนย์ข้อมูล เมื่อเทคโนโลยีถูกพัฒนาต่อไป การโจมตีครั้งใหญ่ และการหลบเลี่ยงการตรวจจับจึงเกิดขึ้นบ่อยกว่าที่เคย เนื่องจากแฮกเกอร์เริ่มใช้ AI และบอทเพื่อเพิ่มขนาดการโจมตี โดย Next Generation Firewal (NGFW) ที่รวมเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น แซนด์บ็อกซ์ (Sandbox) การให้ระบบเรียนรู้ด้วยตนเอง (Machine Learning, ML) และการตรวจจับมัลแวร์ขั้นสูง (APT) ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นมาตรการตอบโต้ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ใหม่และซับซ้อนมากขึ้น

การทำงานของ Firewall

แม้ความสามารถของไฟร์วอลล์จะพัฒนาขึ้นอย่างมากตลอดหลายปีที่ผ่านมา แต่หน้าที่หลักยังคงเป็นการทำหน้าที่เฝ้าระวัง และตัดสินใจอนุญาตหรือจำกัดการรับส่งข้อมูลตามชุดของกฎ ซึ่งไฟร์วอลล์ส่วนใหญ่ทำเช่นนี้โดยใช้วิธีการป้องกันต่างๆ เช่น

1. การกรองแพ็คเก็ต

เปรียบเทียบแพ็คเก็ตข้อมูลกับตัวกรองที่ออกแบบมาเพื่อระบุข้อมูลที่เป็นอันตราย แพ็คเก็ตข้อมูลที่ตรงกับเกณฑ์ของภัยคุกคามจะไม่ได้รับอนุญาตให้ผ่าน

2. บริการพร็อกซี

วิธีนี้สร้างเกตเวย์ตัวกลางที่ป้องกันการติดต่อโดยตรงระหว่างผู้ใช้กับอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ยังปกปิดโครงสร้างเครือข่ายที่ได้รับการป้องกัน และซ่อนที่อยู่ IP ส่วนตัวจากผู้ใช้ภายนอก เพื่อเสริมการป้องอีกระดับ

3. การตรวจสอบสถานะ

นอกจากการตรวจสอบแพ็คเก็ตข้อมูลขาเข้า-ออกทุกรายการแล้ว วิธีนี้ยังตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล พอร์ตที่ใช้ และแอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแพ็คเก็ตข้อมูลก่อนหน้า เพื่อป้องกันภัยคุกคามในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น

4. NAT (การแปลงที่อยู่เครือข่ายและพอร์ต)

วิธีการทางเครือข่ายที่จะเปลี่ยนค่าเน็ตเวิร์กแอดเดรส (Network Address) จากหมายเลขหนึ่งไปเป็นอีกหมายเลขหนึ่ง เช่น การเปลี่ยนที่อยู่ IP เพื่อปรับปรุงความปลอดภัย หรือช่วยลดจำนวน Public IP ที่เชื่อมโยงกับธุรกิจ โดย NAT จะแปลที่อยู่ Public IP กลับมาเป็นที่อยู่ Local IP ตามที่่กำหนด

นอกเหนือจากวิธีการป้องกันแบบดั้งเดิมเหล่านี้ ไฟร์วอลล์ที่ใหม่ และทันสมัยกว่า เช่น Sangfor NGAF, NSF ยังใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยอย่างระบบตรวจจับการบุกรุก (IDS) ระบบป้องกันการบุกรุก (IPS) สำหรับการวิเคราะห์พฤติกรรมของการรับส่งข้อมูล และลายเซ็นของภัยคุกคามหรือกิจกรรมเครือข่ายที่ผิดปกติ พร้อมทั้งเทคโนโลยี AI ที่สามารถตรวจจับภัยคุกคามอย่างชาญฉลาดและเพิ่ม การตรวจสอบที่ลึกซึ้งขึ้น และปรับปรุงการกรองเนื้อหาแพ็คเก็ตของการรับส่งข้อมูลในเครือข่ายทั้งหมด อีกทั้งยังให้การสนับสนุน VPN ในระดับหนึ่ง เพื่อปรับปรุงความปลอดภัยเพิ่มเติมเมื่อเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต

ไฟร์วอลล์แอปพลิเคชันเว็บ (Web Application Firewall, WAF) และไฟร์วอลล์เครือข่าย (Network Firewall)

ไฟร์วอลล์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ แอปพลิเคชันไฟร์วอลลซึ่งแต่ละประเภทให้การป้องกันต่อภัยคุกคาม และทำงานในลักษณะที่แตกต่างกันมาก ดังนั้น การทำความเข้าใจความแตกต่างของทั้ง 2 ประเภท จึงมีความสำคัญเมื่อต้องเลือกโซลูชันความปลอดภัยที่ดีที่สุดสำหรับองค์กร

1. แอปพลิเคชันไฟร์วอลล(WAF)

ไฟร์วอลล์ประเภทนี้ให้การตรวจสอบระดับแอปพลิเคชัน และให้การป้องกันที่ยอดเยี่ยมต่อภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต และการโจมตีผ่านเว็บที่มุ่งเป้าไปที่แอปพลิเคชัน โดยตรวจจับ และบล็อกคำขอ HTTP ที่เป็นอันตราย และป้องกันไม่ให้เข้าถึงผู้ใช้ และแอปพลิเคชันเว็บ WAF ถูกออกแบบมา เพื่อป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์เช่น DDoS, SQL Injection และ Cross-site Scripting แต่ไม่ป้องกันการโจมตีในระดับเครือข่าย

2. ไฟร์วอลล์เครือข่าย (Network Firewall, Next-Generation Firewall)

ไฟร์วอลล์ประเภทนี้เพิ่มความปลอดภัยโดยปกป้องเครือข่ายส่วนตัวจากการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาต โดยทั่วไปแล้วจะให้การป้องกันต่อการรับส่งข้อมูลหลากหลายประเภทมากกว่า WAF และทำงานได้ดีต่อภัยคุกคามทางเครือข่ายเช่น การเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาต การโจมตีแบบ MITM และการเพิ่มสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต

สิ่งสำคัญ คือ ต้องเข้าใจว่า ไฟร์วอลล์เหล่านี้เสริมการทำงานซึ่งกันและกัน และเฉพาะการรวมกันของทั้ง 2 ประเภทเท่านั้น ที่จะให้การป้องกันอย่างครอบคลุม ในอดีต องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องซื้อไฟร์วอลล์แยกกัน 2 รายการ เพื่อครอบคลุมภัยคุกคามต่างๆ ที่อาจเผชิญ อย่างไรก็ตาม Next-Generation Firewall (NGFW)เช่น Sangfor NGAF, NSF รวมความสามารถของไฟร์วอลล์เครือข่าย และ WAF เข้าด้วยกัน เพื่อให้โซลูชันที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากขึ้น

ความสำคัญของ NAT และ VPN

การเลือกไฟร์วอลล์สำหรับองค์กร สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การพิจารณาคุณสมบัติและความเข้ากันได้ของ NAT (Network Address Translation) และ VPN (Virtual Private Network) เนื่องจากธุรกิจ และองค์กรต่างๆ พึ่งพาอินเทอร์เน็ตในการดำเนินงานประจำวันมากขึ้นเรื่อยๆ โดยคุณสมบัติของ NAT และ VPN สามารถช่วยปกปิดที่อยู่ IP ส่วนตัวขององค์กร และซ่อนกิจกรรมต่างๆ แม้จะไม่สามารถทดแทนไฟร์วอลล์ได้โดยลำพัง แต่มีประโยชน์หลากหลายประการ เช่น การเข้ารหัสข้อมูล การซ่อนตำแหน่งที่ตั้ง และการปกป้องตัวตนจากเว็บมาสเตอร์ ซึ่งสามารถเพิ่มความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยของเครือข่ายให้กับธุรกิจหรือองค์กรได้มากยิ่งขึ้น

Firewall vs Antivirus

ไฟร์วอลล์กับซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส (Antivirus) ทำหน้าที่ต่างกันมาก แต่มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นเครื่องมือเดียวกัน แม้ทั้ง 2 จะมีความสำคัญในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจปัจจุบัน แต่การคิดว่า ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสสามารถทำงานแทนไฟร์วอลล์สำหรับองค์กรถือเป็นความผิดพลาดร้ายแรงที่อาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เลวร้าย

ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างทั้ง 2 ประเภท ได้แก่:

ไฟร์วอลล์ ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส
  • ทำหน้าที่เป็นด่านแรกในการป้องกัน มุ่งเน้นการป้องกันภัยคุกคามจากภายนอก
  • จัดการกับภัยคุกคามจากแพ็คเก็ตข้อมูลขาเข้าทั้งหมด
  • ปกป้องระบบจากภัยคุกคามทุกประเภท รวมถึงการโจมตีทางไซเบอร์
  • หน้าที่หลัก คือ ตรวจสอบการรับส่งข้อมูล และจำกัดการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาต
  • สแกนระบบเพื่อหาไฟล์ และซอฟต์แวร์ที่มีไวรัส ส่วนใหญ่จัดการกับภัยคุกคามภายใน
  • จัดการหลักๆ กับภัยคุกคามจากซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตราย
  • มุ่งเน้นเฉพาะภัยคุกคามจากซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตราย
  • หน้าที่หลัก คือ สแกน ตรวจจับ และกำจัดภัยคุกคามที่มีอยู่ภายในระบบคอมพิวเตอร์

อดี และข้อจำกัดของไฟร์วอลล์

ตามรายงานของ FBI ธุรกิจในสหรัฐอเมริกาสูญเสียเงินประมาณ 6.5 พันล้านดอลลาร์ จากอาชญากรรมทางไซเบอร์ในปี 2021 เพียงปีเดียว ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ได้ว่า ไม่มีธุรกิจหรือบุคคลใดที่ได้รับการยกเว้นจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ในโลกปัจจุบัน และเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทุกองค์กรที่จะต้องมีไฟร์วอลล์ติดตั้งไว้ กล่าวได้ว่า การมีไฟร์วอลล์ไม่มีข้อเสียที่แท้จริง มีเพียงความท้าทาย และข้อจำกัดที่อาจต้องการโซลูชันพิเศษเท่านั้น

ข้อดี ข้อจำกัด
  • การป้องกันจากแฮกเกอร์ การโจมตีทางไซเบอร์ และการเข้าถึงระยะไกลที่ไม่ได้รับอนุญาต
  • เพิ่มความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยให้กับองค์กร
  • ยกระดับความน่าเชื่อถือของโทรศัพท์ VOIP
  • อาจมีราคาแพงสำหรับบางองค์กร
  • มักจำเป็นต้องได้รับการจัดการโดยผู้เชี่ยวชาญด้านไอที
  • ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้ทั้งหมด (เช่น ยังคงต้องใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสในระดับระบบแต่ละเครื่อง เพื่อสแกนหาไวรัสที่มีอยู่ เป็นต้น)
  • บางครั้งอาจทำให้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตช้าลง

ตัวเลือกแบบ Open Source

องค์กรแต่ละแห่งมีความต้องการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่แตกต่างกัน และไม่ใช่ทุกธุรกิจที่พร้อมจะจ่ายเงินเพื่อไฟร์วอลล์ระดับองค์กรสำหรับการป้องกันที่ดีขึ้น หากองค์กรพอใจกับระดับความปลอดภัยเครือข่ายขั้นพื้นฐาน ไฟร์วอลล์โอเพนซอร์สอย่าง IPFire และ pfSense อาจเป็นโซลูชันที่ยอดเยี่ยมที่จะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้

ประโยชน์ของ Firewall? ประวัติของไฟร์วอลล์ ยุคที่ 1 - ปลายทศวรรษ 1980: ไฟร์วอลล์แบบกรองแพ็คเก็ต ยุคที่ 2 - ทศวรรษ 1990: ไฟร์วอลล์แบบตรวจสอบสถานะ ยุคที่ 3 - ทศวรรษ 2000: ไฟร์วอลล์ระดับแอปพลิเคชัน ยุคถัดไป - ตั้งแต่ทศวรรษ 2010 เป็นต้นมา: แซนด์บ็อกซ์ (Sandbox) การให้ระบบเรียนรู้ด้วยตนเอง (Machine Learning, ML) และอื่นๆ การทำงานของ Firewall 1. การกรองแพ็คเก็ต 2. บริการพร็อกซี 3. การตรวจสอบสถานะ 4. NAT (การแปลงที่อยู่เครือข่ายและพอร์ต) ไฟร์วอลล์แอปพลิเคชันเว็บ (Web Application Firewall, WAF) และไฟร์วอลล์เครือข่าย (Network Firewall) 1. แอปพลิเคชันไฟร์วอลล(WAF) 2. ไฟร์วอลล์เครือข่าย (Network Firewall, Next-Generation Firewall) ความสำคัญของ NAT และ VPN Firewall vs Antivirus อดี และข้อจำกัดของไฟร์วอลล์ ตัวเลือกแบบ Open Source

Search

Get in Touch

Get in Touch with Sangfor Team for Business Inquiry

Related Glossaries

Cyber Security

SWG (Secure Web Gateway) คืออะไร สำคัญต่อองค์กรมากน้อยแค่ไหน 

Date : 06 Dec 2024
Read Now
Cyber Security

Understanding Smurf Attacks: History, Impact, and Prevention Strategies

Date : 23 Nov 2024
Read Now
Cyber Security

What is a Hardware Wallet?

Date : 17 Nov 2024
Read Now

See Other Product

Cyber Command - NDR Platform - Sangfor Cyber Command - แพลตฟอร์ม NDR
Sangfor Endpoint Secure
Internet Access Gateway (IAG)
Sangfor Network Secure - Next Generation Firewall (NGFW)
Platform-X
Sangfor Access Secure - โซลูชัน SASE