ในยุคที่โครงสร้างพื้นฐานด้านไอที (IT Infrastructure) กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โซลูชันแบบดั้งเดิมอาจไม่เพียงพอสำหรับองค์กรที่ต้องการความยืดหยุ่นและปลอดภัย Secure Access Service Edge (SASE) จึงเกิดขึ้นในฐานะโซลูชันที่ผสานการเชื่อมต่อและความปลอดภัยเข้าด้วยกันบนคลาวด์ เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในโลกดิจิทัล

SASE Gartner Article

SASE คืออะไร?

Gartner ได้ให้คำจำกัดความของ SASE ว่าเป็น การส่งมอบบริการเครือข่ายและความปลอดภัยแบบรวมศูนย์ (Network and Security As a Service) ซึ่งรวมไปถึง SD-WAN, SWG, CASB, NGFW และการเข้าถึงเครือข่ายแบบ Zero Trust (ZTNA) นอกจากนี้ การเกิดขึ้นของสภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริดและ Remote Work ส่งผลให้ SASE มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เนื่องจาก "สามารถรองรับการเข้าถึงอย่างปลอดภัยสำหรับสำนักงานสาขา พนักงานที่ทำงานระยะไกล และการใช้งานภายในองค์กร”

Secure Access Service Edge (SASE) เป็นการผสานฟังก์ชันและโซลูชันความปลอดภัยเครือข่ายแบบ Cloud-Native ที่ออกแบบมาเพื่อการเข้าถึงที่ปลอดภัย (Secure Access) สำหรับองค์กรทั่วโลกที่เผชิญกับภูมิทัศน์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยรวมเครือข่ายแบบ Software-Defined เข้ากับความปลอดภัยเครือข่ายในบริการเดียว ซึ่งผู้ใช้งานสามารถควบคุมและเฝ้าสังเกต Traffic ของเครือข่าย การเข้าถึงของผู้ใช้ และข้อมูลสำหรับองค์กรได้ดียิ่งขึ้น

คำว่า "SASE" พูดถึงเป็นครั้งแรกโดย Gartner ในรายงานเดือนสิงหาคม 2019 เรื่อง "The Future of Network Security in the Cloud" และได้ขยายความเพิ่มเติมใน แผนกลยุทธ์ SASE Convergence ปี 2021 ซึ่งรายงานระบุว่า "ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยในองค์กรดิจิทัลต้องการเครือข่ายและความปลอดภัยของเครือข่าย ที่สามารถนำไปใช้ได้เมื่อและที่ใดก็ตามที่ต้องการ และสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่จำเป็นได้"

การระบาดของ COVID-19 ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของโซลูชันในการเชื่อมต่อพนักงาน สำนักงาน และสาขาที่อยู่ห่างไกล เมื่อธุรกิจต่างๆ เร่งการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) ในช่วงการระบาด ความสามารถของ SD-WAN ได้กลายเป็นดาวเด่นด้านความปลอดภัยและการเชื่อมต่อที่คุ้มค่า สำหรับเครือข่ายระยะไกลและแอปพลิเคชัน Third-Party อย่างไรก็ตาม ในตอนนี้ VPN และ Web Gateway มีความสามารถเหนือกว่า SD-WAN ในการเชื่อมต่อและความปลอดภัยแบบครบวงจร

การมาถึงของ SASE ได้เปลี่ยนเกมไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ใน การคาดการณ์ของ Gartner ระบุว่า "ภายในปี 2025 องค์กรกว่า 65% จะรวมองค์ประกอบ SASE แต่ละส่วนเข้ากับผู้ให้บริการ SASE หนึ่งหรือสองรายที่เป็นพาร์ทเนอร์กันอย่างชัดเจน โดยเพิ่มขึ้นจาก 15% ในปี 2021"

เกี่ยวกับ Gartner

Gartner เป็นผู้นำระดับโลกในด้านการวิจัยและให้คำปรึกษาด้านไอที องค์กรให้คำแนะนำในการปฏิบัติ ข้อมูล บทวิจารณ์ และเครื่องมือสำหรับโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่น่าเชื่อถือ โดยในปี 2019 บริษัทเห็นช่องว่างในโซลูชันที่มีอยู่ที่ออกแบบมาเพื่อปรับปรุงการเปลี่ยนแปลงสู่คลาวด์และความปลอดภัยเครือข่าย ซึ่งนำไปสู่การสร้าง SASE

Gartner ได้กล่าวว่า "SASE คือ รูปแบบบริการที่มีความปลอดภัยสูง โดยอิงจากเอนทิตี (Entity) บริบทแบบเรียลไทม์ นโยบายความปลอดภัย/การปฏิบัติตามขององค์กร และการประเมินความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องตลอดทั้ง Session โดยตัวตนของเอนทิตีสามารถเชื่อมโยงกับบุคคล กลุ่มคน (สำนักงานสาขา) อุปกรณ์ แอปพลิเคชัน บริการ ระบบ IoT หรือตำแหน่งที่ตั้งของ Edge Computing"

เมื่อเราทราบแล้วถึงที่มาของ SASE ต่อไป มาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการปฏิวัติวงการนี้กัน

SASE ทํางานอย่างไร?

Secure Access Service Edge ถูกมองว่าเป็น “ผู้สืบทอด” ของ SD-WAN อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน แต่ SASE ทำงานอย่างไร และเหตุใดจึงก้าวขึ้นมาแทนที่ SD-WAN อย่างรวดเร็วในฐานะโซลูชันการเชื่อมต่อที่ได้รับความนิยม?

Secure Access Service Edge เป็นบริการด้านความปลอดภัยเครือข่าย (Network Security) และการเชื่อมต่อ (Connectivity) ที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว ซึ่งกำกับดูแลโดยศูนย์ควบคุมกลางและบริหารจัดการจากคลาวด์ พร้อม Vibilility ที่ดีขึ้นและการทำ Automated Analytic แบบอัตโนมัติ โดย SASE ใช้กฎตามนโยบายกับอุปกรณ์เครือข่ายและผู้ใช้ ซึ่งอ้างอิงจากอุปกรณ์หรือผู้ใช้ บทบาท พฤติกรรม และตำแหน่งที่ตั้ง หรือปัจจัยอื่นๆ เพื่อให้การเข้าถึงแอปพลิเคชันและข้อมูลอย่างปลอดภัย ไม่ว่าคุณจะอยู่ห่างไกลจาก Data Center หลักเพียงใดก็ตาม

Secure Access Service Edge มอบการเชื่อมต่อที่ปลอดภัย และเชื่อถือได้สำหรับองค์กรที่ต้องการเชื่อมโยงสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก ปรับปรุงประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน และความปลอดภัยเครือข่ายขั้นสูง
ในทางเทคนิค แทนที่จะทดแทน Software-Defined Wide Area Network (SD-WAN) บริการ SASE ใช้แนวทางแบบ Multifunctional ที่รวม SD-WAN รวมถึง SWG, CASB, ZTNA และ FWaaS เป็นความสามารถหลัก ด้วยความสามารถในการระบุข้อมูลที่ละเอียดอ่อนและ มัลแวร์ หรือความสามารถในการถอดรหัสอย่างรวดเร็วภายใต้การกำกับดูแล

SASE ทำงานโดย:

  • เป็น Cloud Native - การทำงานจากภายในคลาวด์ทำให้ SASE สามารถปรับตัวได้ง่าย มีความยืดหยุ่น และผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่
  • อิงตามตัวตน (Based on Identity) - การเข้าถึงเครือข่ายและคุณภาพของบริการถูกกำหนดโดยผู้ใช้ และทรัพยากรถูกกำหนดโดยนโยบายของบริษัท เพื่อให้มั่นใจว่ามีการจัดสรรฟังก์ชันที่เหมาะสมตามความจำเป็น
  • ระดับโลก (Global Scale) - SASE ให้บริการครอบคลุมทุกเครือข่ายเพื่อมอบบริการและความสามารถด้านความปลอดภัยอย่างครบถ้วน

สถาปัตยกรรมของ SASE

โมเดล SASE (Secure Access Service Edge) ผสานรวมบริการเครือข่ายและความปลอดภัยเข้าด้วยกันใน Architecture แบบ Cloud-Native ที่เป็นหนึ่งเดียว โดยรวมองค์ประกอบต่างๆ เช่น ความสามารถของ SD-WAN (Software-Defined Wide Area Network) เข้ากับฟังก์ชันความปลอดภัย อาทิ SWG (Secure Web Gateway), FWaaS (Firewall as a Service), ZTNA (Zero Trust Network Access) และ CASB (Cloud Access Security Broker)

สถาปัตยกรรมลักษณะนี้ช่วยให้องค์กรสามารถทำการ Centralize นโยบายเครือข่ายและความปลอดภัย โดยนำไปใช้อย่างสอดคล้องกับการ Traffic ในเครือข่ายและ Access Point ของผู้ใช้ทั้งหมด ซึ่งการติดตั้ง SASE ช่วยให้องค์กรสามารถบรรลุการเชื่อมต่อที่ปรับขนาดได้ คล่องตัว และปลอดภัย พร้อมทั้งลดความซับซ้อนในการจัดการผ่านแพลตฟอร์มคลาวด์แบบรวมศูนย์ (Unified Cloud-Based Platform)

องค์ประกอบของ SASE

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น SASE ผสานความสามารถของ SD-WAN เข้ากับฟังก์ชันความปลอดภัยเครือข่ายหลายอย่างซึ่งเข้าถึงได้สะดวกบนแพลตฟอร์มคลาวด์เดียว ทำให้องค์กรสามารถควบคุม Traffic ภายในเครือข่ายและข้อมูลที่ดีขึ้น โดยองค์ประกอบหลักของ SASE ได้แก่

  1. Software-Defined WAN (SD-WAN) - SASE ไม่ได้แทนที่ SD-WAN แต่จะช่วยให้การจัดการ WAN เป็นไปอย่างเหมาะสมที่สุด โดยใช้ความสามารถในการให้ความปลอดภัยอินเทอร์เน็ต การเข้าถึงระยะไกล (Remote Access) การจัดเส้นทางเครือข่าย (Network Routing) การเชื่อมต่อ (Gloabal Connectivity) และ Cloud Acceleration ที่ดีที่สุด
  2. Secure Web Gateway (SWG) - โซลูชัน Secure Web Gateway ปกป้องผู้ใช้จากภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น มัลแวร์ ฟิชชิง และการรั่วไหลของข้อมูลผ่านการกรอง Network Traffic อย่างครอบคลุม SASE บริการ Secure Web Gateway ทั่วเครือข่าย ทำให้มั่นใจว่าความปลอดภัยเครือข่ายระยะไกลได้รับการดูแลด้วยเช่นกัน
  3. Firewall as a Service (FWaaS) - ไฟร์วอลล์มักเป็นแนวป้องกันด่านแรกสำหรับเครือข่ายต่อการโจมตีทางไซเบอร์ SASE รวมฟังก์ชัน Firewall-as-a-Service ที่สามารถรักษาความปลอดภัยเครือข่ายภายในโครงสร้างพื้นฐานบนคลาวด์ และให้โซลูชัน Virtual ที่ปรับขนาดได้ และมีความยืดหยุ่น เพื่อรักษาความปลอดภัยเครือข่ายของคุณ
  4. Zero-Trust Network Access (ZTNA) - แพลตฟอร์มการเข้าถึงเครือข่ายแบบ Zero-Trust อาศัยแนวคิดที่ว่าแอปพลิเคชันควรปรับการเข้าถึงตามผู้ใช้แต่ละคนและต้องการการยืนยันแบบเรียลไทม์ของทุกอุปกรณ์ที่ใช้ จึงรับประกันความปลอดภัยสูงสุด
  5. การจัดการแบบรวมศูนย์ - ในบางครั้ง โครงสร้างพื้นฐานไอทีอาจมีความยุ่งยากในการจัดการ โดยเฉพาะเมื่อองค์กรใช้บริการหลายอย่าง โดย SASE ช่วยให้ง่ายขึ้นโดยจัดหาการตรวจสอบเครือข่ายและโซลูชันความปลอดภัยทั้งหมดที่คุณต้องการภายในแพลตฟอร์มเดียว
  6. Cloud Access Security Broker (CASB) - Cloud Access Security Broker ช่วยให้องค์กรสามารถปรับตัวเข้ากับภัยคุกคามใหม่ๆ ในการประมวลผลแบบคลาวด์ SASE เพิ่มฟังก์ชันที่จำเป็นนี้เข้าไปในรายการเพื่อให้มั่นใจว่าความปลอดภัยคลาวด์และข้อมูลของคุณอยู่ในมือที่ปลอดภัยเสมอ

SASE components

ในขณะที่ทั้งหมดนี้เป็นฟังก์ชันที่สามมารถนำไปใช้ในโครงสร้างพื้นฐานของคุณ แล้วข้อดีของ SASE ต่อธุรกิจของมีอะไรบ้าง?

ใครได้ประโยชน์จาก SASE มากที่สุด

องค์กรที่ต้องการการเข้าถึงโดยตรงอย่างปลอดภัยระหว่างสาขาหรือสำนักงานระยะไกลจะพบว่าการติดตั้ง SASE นั้นมีประโยชน์อย่างมาก นอกจากนี้ SASE ยังเป็นโซลูชันที่เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีงบประมาณจำกัด ซึ่งอาจไม่สามารถลงทุนติดตั้งมาตรการความปลอดภัยในทุกสถานที่ได้ นอกจากนี้ SASE ยังเหมาะกับองค์กรที่กำลังก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลด้วยระบบคลาวด์ เพราะ SASE ให้ความสำคัญกับการกระจายความปลอดภัยในการเข้าสำหรับบุคลากรในองค์กร

Secure Access Service Edge คือ อนาคตของความปลอดภัย

Gartner คาดการณ์ ว่าภายในปี 2026 ผู้ให้บริการด้านเครือข่ายและความปลอดภัยที่ไม่สามารถนำเสนอ SASE ที่น่าสนใจได้จะถูกจำกัดให้อยู่ในโอกาสทางการตลาด ดั่งที่กล่าวไปข้างต้น SASE เป็นการผสมผสานระหว่างความปลอดภัยเครือข่ายและคลาวด์ ซึ่งมอบข้อดีจากทั้งสองอย่างร่วมกัน

องค์กรต่างๆ มักประสบปัญหาในการจัดหาระบบการจัดการที่ดีที่สุดและง่ายที่สุดสำหรับโซลูชันเครือข่ายของตน ด้วยระบบสำคัญมากมาย เช่น SD-WAN, NGFW, Secure Web Gateway และอุปกรณ์ VPN การจัดการอาจซับซ้อนอย่างเข้าใจได้เมื่อต้องดำเนินการแต่ละโซลูชันแยกกัน

นอกจากนี้ ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านไอที และการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของสำนักงานระยะไกล แสดงให้เห็นช่องว่างในการจัดการได้อย่างชัดเจน องค์กรบางแห่งอาจลังเลที่จะใช้ SASE แต่ส่วนใหญ่ได้ดำเนินการไปแล้วในบางรูปแบบ ซึ่งขั้นตอนสำคัญในการนำโมเดล SASE มาใช้อย่างเต็มรูปแบบ ได้แก่

  • การย้ายไปสู่คลาวด์
  • การทำงานระยะไกลที่ปลอดภัย
  • การย้ายการป้องกัน DDoS ไปที่ Edge
  • การวางสำนักงานสาขาไว้หลังเขตความปลอดภัยคลาวด์
  • การแทนที่อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยด้วยการบังคับใช้นโยบายแบบ Cloud-Native ที่เป็นหนึ่งเดียว

Sangfor Technologies เป็นผู้ให้บริการไอทีชั้นนำระดับโลกที่มีฐานอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่มีความเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และการประมวลผลแบบคลาวด์ และมีโมเดล SASE แบบ Ready-to-Use พร้อมใช้งานสำหรับการติดตั้งในองค์กรของคุณ

ความท้าทายในการใช้งาน SASE

  • การกำหนดบทบาทใหม่และการทำงานร่วมกัน: ในการนำโซลูชัน SASE มาใช้งาน องค์กรจำเป็นกำหนดบทบาทหน้าที่และการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างทีมเครือข่ายและทีมความปลอดภัย โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมแบบไฮบริดคลาวด์
  • การจัดการความซับซ้อนของผู้ให้บริการ: SASE ช่วยทำให้การเลือกผู้ให้บริการง่ายขึ้น ด้วยการผสานเครื่องมือและวิธีการต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของ Digital Transformation
  • การรับประกันความครอบคลุม: การสร้างสมดุลระหว่างกลยุทธ์แบบ Cloud-Driven และ On-Premises สำคัญต่อการเชื่อมต่อเครือข่ายและความปลอดภัยที่ราบรื่น โดยเฉพาะในการติดตั้งภายในองค์กรที่มีสาขาจำนวนมาก
  • การสร้างความเชื่อมั่นใน SASE: การทำงานร่วมกับผู้ให้บริการที่น่าเชื่อถือมีความสำคัญในการสร้างความไว้วางใจและรับประกันการผสานรวมเครือข่ายและความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมแบบไฮบริดคลาวด์
  • การเลือกและผสานผลิตภัณฑ์: ทีมไอทีที่แยกส่วนอาจจำเป็นต้องเลือกและผสานผลิตภัณฑ์หลายอย่างสำหรับเครือข่ายและความปลอดภัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน
  • การจัดการการกระจายตัวของเครื่องมือ: การระบุและลดความซ้ำซ้อนในเครื่องมือที่มีอยู่ จะช่วยรับประกันโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่เป็นหนึ่งเดียวระหว่างการเปลี่ยนผ่านไปสู่แนวทาง SASE ที่เน้นคลาวด์เป็นศูนย์กลาง
  • แนวทางการทำงานร่วมกัน: การนำ SASE มาใช้งานให้ประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับความพยายามร่วมกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยและเครือข่าย เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และประโยชน์สูงสุดขององค์กร

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ SASE

1. SASE เป็นเพียง VPN บนคลาวด์เท่านั้น

ในความจริง SASE มอบประโยชน์มากกว่า VPN แบบดั้งเดิม โดยผสาน Secure Web Gateway, Cloud Access Security Broker และ Firewall as a Service เพื่อความปลอดภัยที่ครอบคลุมในการเชื่อมต่อเครือข่าย

2. องค์กรขนาดใหญ่เท่านั้นที่จะได้ประโยชน์จากการใช้ SASE

ธุรกิจทุกขนาดสามารถได้รับประโยชน์จาก SASE ซึ่งจะเข้ามาช่วยทำให้การจัดการเครือข่ายและความปลอดภัยง่ายขึ้น พร้อมทั้งปรับขนาดได้ เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของแต่ละธุรกิจ

3. SASE ใช้ได้เฉพาะกับสภาพแวดล้อมการทำงานระยะไกลเท่านั้น

SASE เป็นประโยชน์ทั้งกับการทำงานแบบ Remote Work และภายในสำนักงาน โดย SASE มอบการเข้าถึงการเข้าถึงทรัพยากรคลาวด์ที่ปลอดภัย ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม

4. จำเป็นต้องสละความปลอดภัยแบบOn-Premise เพื่อใช้งาน SASE บนคลาวด์

ในการใช้งาน SASE องค์กรไม่จำเป็นต้องละทิ้งมาตรการรักษาความปลอดภัยแบบ On-Premise แต่สามารถผสานรวมอย่างราบรื่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น

5. การใช้ SASE หมายถึงการละเลยเทคโนโลยีความปลอดภัยอื่นๆ

SASE สามารถใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีความปลอดภัยอื่นๆ เช่น การตรวจจับและตอบสนองที่จุดปลายทาง (Endpoint Detection and Response) เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งด้านความปลอดภัยโดยรวม

กรณีการใช้งาน SASE ที่พบได้บ่อย

  • ป้องกันภัยคุกคามสำหรับสำนักงานที่กระจายตัวและพนักงานระยะไกล: SASE ใช้นโยบายความปลอดภัยที่สม่ำเสมอสำหรับผู้ใช้งานในระบบทั้งหมด โดยกรองและตรวจสอบ Traffic ภายในเครือข่ายเพื่อป้องกันภัยคุกคามต่างๆ
  • การปกป้องข้อมูลตามข้อปฏิบัติและกฎระเบียบ: SASE ทำให้องค์กรสามารถตรวจสอบ Request ในการเข้าถึงเครือข่าย จึงช่วยให้สามารถปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลผ่านการบังคับใช้นโยบาย
  • การเชื่อมต่อสาขาที่ง่ายขึ้น: องค์กรสามารถนำ SASE มาปรับปรุงการเชื่อมต่อระหว่างสาขาให้ง่ายขึ้นโดยแทนที่วงจร MPLS และอุปกรณ์ที่ซับซ้อน อำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อระหว่างไซต์

ความแตกต่างระหว่าง SASE และ SSE

  • SASE (Secure Access Service Edge): SASE ผสานรวมมาตรการความปลอดภัยทั้ง SD-WAN, SWG, CASB, NGFW และ ZTNA สำหรับการเข้าถึงแบบ Zero-Trust โดยอิงจากตัวตนของอุปกรณ์และบริบทแบบเรียลไทม์
  • SSE (Security Service Edge): SSE มุ่งเน้นการรักษาความปลอดภัยบนเว็บไซต์ บริการคลาวด์ และแอปพลิเคชันส่วนตัว โดย SSE มักมาก่อนการติดตั้ง SASE แบบเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะสำหรับองค์กรที่มีการตั้งค่า SD-WAN ที่เป็นระบบ ซึ่งอาจเลือกใช้องค์ประกอบ SASE แต่ละส่วนในตอนแรก แพลตฟอร์มบางอย่างอาจมีฟีเจอร์เพิ่มเติม เช่น
    • Remote Browser Isolation (RBI): ป้องกันการดาวน์โหลดมัลแวร์และช่องโหว่ของเบราว์เซอร์
    • Data Loss Prevention (DLP): ตรวจจับข้อมูลที่ละเอียดอ่อนในเว็บไซต์ SaaS และแอปพลิเคชันส่วนตัว
    • Digital Experience Monitoring (DEM): ระบุปัญหาการเชื่อมต่อและการหยุดทำงาน

โซลูชัน Sangfor Access Secure

โซลูชัน Sangfor Access Secure มอบการเชื่อมต่อที่ปลอดภัยบนคลาวด์สำหรับสำนักงานใหญ่ สาขา และผู้ใช้ระยะไกล โดย Sangfor Access Secure ให้ความปลอดภัยเครือข่ายจากมัลแวร์ ไวรัส และแรนซัมแวร์ แพลตฟอร์มนี้สามารถตรวจสอบการจราจรทั้งหมด ทั้งภายนอกและภายใน พร้อมปกป้ององค์กรจากภัยคุกคามภายในทุกรูปแบบ

  • การเชื่อมต่อที่ราบรื่น: Sangfor Access Secure เชื่อมต่อสำนักงานสาขาอย่างปลอดภัยและราบรื่น โดยออกแบบตามความต้องการเฉพาะของลูกค้าและแนวทางจาก Gartner ปัจจุบัน แพลตฟอร์ม SASE จาก Sangfor Access ให้บริการลูกค้ากว่า 100,000 ราย ที่ดำเนินการสาขาและสำนักงานในสถานที่ห่างไกลที่สุด ไม่ว่าจะข้ามทวีป มหาสมุทร หรือพรมแดนประเทศ ผู้ใช้ระยะไกลเพียงแค่ติดตั้ง Client ขนาดเล็กอุปกรณ์ของตนก็สามารถเชื่อมต่อและได้รับการปกป้องจาก Sangfor Access Secure
  • ความปลอดภัยขั้นสูง: ด้วย Sangfor Access Secure ผู้ใช้งานจะได้รับการปกป้องอย่างต่อเนื่องจากมัลแวร์ แรนซัมแวร์ และการโจมตีทางไซเบอร์ ผู้ดูแลระบบสามารถตรวจสอบผู้ใช้และพฤติกรรมการใช้งานได้อย่างง่ายดาย เพื่อค้นพบการใช้งานแอปพลิเคชัน แบนด์วิดธ์ หรือการรั่วไหลของข้อมูลที่ไม่เหมาะสม ไม่ว่าผู้ใช้จะอยู่ห่างไกลเพียงใด
  • คุ้มค่า: Sangfor Access Secure สามารถช่วยลดต้นทุน ด้วยโมเลดการชำระเงินแบบ Pay-as-You-Grow ตามการเติบโต ช่วยให้องค์กรสามารถปรับขนาดตามความจำเป็นและประหยัดต้นทุนสำหรับฟังก์ชันหรือการอัปเกรดที่สำคัญอื่นๆ
  • การวิเคราะห์แบบ Active Analytic: ท้ายที่สุด แพลตฟอร์มการวิเคราะห์ของ Sangfor ติดตามการรั่วไหลของข้อมูลและใช้การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างกว้างขวาง เพื่อค้นหาความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่ซ่อนอยู่ โดยแพลตฟอร์มนี้ทำงานร่วมกับ Neural-X เพื่อค้นหาภัยคุกคามที่มองไม่เห็นภายในเครือข่ายก่อนที่จะสร้างความเสียหายได้ในกับองค์กร

กรณีศึกษาโซลูชัน Sangfor Access Secure (SASE)

Emily เป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาดของบริษัท SaaS ที่ใช้โมเดลการทำงานแบบไฮบริด แต่เธอเผชิญกับความท้าทายด้านการเชื่อมต่อไอทีในชีวิตการทำงานประจำวัน ซึ่ง Sangfor Access Secure พร้อมช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว สามารถรับชมวิดีโอเพื่อเรียนรู้ว่าโซลูชัน Sangfor Access Secure ช่วยให้ Emily ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยในทุกอุปกรณ์และแพลตฟอร์มได้อย่างไร

Secure Access Service Edge จะอยู่กับเราไปอีกนาน และ Sangfor ภูมิใจนำเสนอโซลูชัน SASE ที่ล้ำสมัยและเป็นนวัตกรรมที่สุดด้วย Sangfor Access Secure สำหรับองค์กรในทุกอุตสาหกรรม และให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและการเชื่อมต่อที่เชื่อถือได้สำหรับองค์กร สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชันความปลอดภัยทางไซเบอร์และการประมวลผลแบบคลาวด์ของ Sangfor ได้ที่ www.sangfor.com

Search

Get in Touch

Get in Touch with Sangfor Team for Business Inquiry

Related Glossaries

Cyber Security

SWG (Secure Web Gateway) คืออะไร สำคัญต่อองค์กรมากน้อยแค่ไหน 

Date : 06 Dec 2024
Read Now
Cyber Security

Understanding Smurf Attacks: History, Impact, and Prevention Strategies

Date : 23 Nov 2024
Read Now
Cyber Security

What is a Hardware Wallet?

Date : 17 Nov 2024
Read Now

See Other Product

Platform-X
Sangfor Access Secure - โซลูชัน SASE
Sangfor SSL VPN
Best Darktrace Cyber Security Competitors and Alternatives in 2024
Sangfor Omni-Command
Replace your Enterprise NGAV with Sangfor Endpoint Secure