ในโลกยุคปัจจุบัน ภัยคุกคามทางไซเบอร์ใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวัน แล้วบริษัทต่างๆ มักประสบปัญหาในการรับมือกับความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มากเกินไป เนื่องจากองค์กรส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจมากกว่าด้านอื่นๆ ส่งผลให้เกิดช่องโหว่ด้านการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์หลายประการ ด้วยเหตุนี้ ศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัย หรือ Security Operations Center (SOC) จึงเป็นส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับทุกองค์กร

SOC คืออะไร (What Is a Security Operations Center)?

ศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัย หรือ SOC (Security Operations Center) คือ ศูนย์กลางด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กร โดย SOC ประกอบไปด้วย ทีมผู้เชี่ยวชาญที่ทำหน้าที่ควบคุม เฝ้าระวัง และวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดที่ผ่านเข้าสู่เครือข่ายขององค์กร ซึ่งทีมนี้อาจเป็นได้ทั้งทีมภายนอก (Outsourced) หรือทีมผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ภายในองค์กรเอง โดยในการทำงานของ SOC มีจุดประสงค์หลัก คือ รักษาความปลอดภัยและปกป้ององค์กร โดยทีมผู้เชี่ยวชาญจะคอยตรวจสอบทุกๆ ดิจิทัลอินเทอร์เฟซ (Digital Interface) ในองค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อค้นหาภัยคุกคามทางไซเบอร์หรือช่องโหว่ต่างๆ ช่วยให้การป้องกันข้อมูล การดำเนินงาน และข่าวกรองด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

Security Operations Center มีความสามารถในการตรวจจับภัยคุกคามด้านความปลอดภัยแบบเรียลไทม์ และจัดการกับภัยคุกคามเหล่านั้นได้ทันที ในอีกมุมหนึ่ง SOC ยังทำหน้าที่เป็นแนวป้องกันแบบรวมศูนย์ และประสานงานเพื่อป้องกันโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลขององค์กร

Security Operations Center (SOC)

หน้าที่หลักของ SOC

ศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัย หรือ SOC ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางข่าวกรองทางไซเบอร์ขององค์กร มีหน้าที่รับผิดชอบในการปกป้องอุปกรณ์ปลายทาง (Endpoint Devices) ดำเนินการค้นหาภัยคุกคามเชิงรุก และดูแลความปลอดภัยโดยรวมของเครือข่าย โดยการทำงานของ SOC ครอบคลุมหน้าที่หลากหลายด้าน ดังนี้

1. การบำรุงรักษาเชิงรุก (Active Maintenance)

Security Operations Center (SOC) มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลรักษามาตรการความปลอดภัยทางไซเบอร์ทั้งหมดที่มีอยู่ โดยทีมจะต้องคอยอัปเดตซอฟต์แวร์ ติดตั้ง แพทช์ (Patch) ความปลอดภัย และดูแลรักษา Firewall การจัดการบัญชีดำ (Blacklisting) บัญชีขาว (Whitelisting) รวมถึงนโยบายความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการบำรุงรักษาจะช่วยให้มั่นใจว่าจุดปลายทางที่มีความเสี่ยงได้รับการป้องกัน แพลตฟอร์มความปลอดภัยทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และข้อบกพร่องในระบบถูกค้นพบและแก้ไขอย่างรวดเร็ว

2. การเฝ้าระวัง (Monitoring)

หนึ่งในฟังก์ชันหลักของ SOC คือ ความสามารถในการเฝ้าระวังกิจกรรมตลอด 24 ชั่วโมง โดยการเฝ้าระวังเชิงรุกช่วยให้เครือข่ายมีความปลอดภัยมากขึ้นและเข้าใจกิจกรรมของผู้ใช้ได้ดียิ่งขึ้น โซลูชัน SIEM (Security Information and Event Management) เคยเป็นพื้นฐานหลักในการเฝ้าระวังและตรวจจับสำหรับบริษัทส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ด้วยภัยคุกคามทางไซเบอร์ใหม่ๆ ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น โซลูชัน SIEM เพียงอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอ SOC ที่ดีจะต้องใช้เครื่องมือการเฝ้าระวังขั้นสูงที่รวมถึง SIEM หรือแพลตฟอร์ม EDR (Endpoint Detection and Response) การนำ XDR (Extended Detection and Response) หรือโซลูชัน SOAR มาใช้จะยิ่งดีสำหรับองค์กร เนื่องจากให้ข้อมูลการวัดระยะไกลและการเฝ้าระวังโดยละเอียด พร้อมการตรวจจับและตอบสนองต่อเหตุการณ์โดยอัตโนมัติ ปัจจุบัน Sangfor Platform-X เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่รวมความสามารถเหล่านี้ไว้อย่างครบครัน

3. การจัดการและป้องกันทรัพยากร

SOC จำเป็นต้องรู้ว่าสินทรัพย์ใดบ้างที่ต้องได้รับการป้องกันและต้องใช้เครื่องมือใดในการรักษาความปลอดภัย ซึ่งทีม SOC ต้องมองเห็นเครือข่ายทั้งหมด เพื่อให้แน่ใจว่าทุกจุดปลายทาง (Endpoint) และองค์ประกอบของโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลได้รับการดูแลและรักษาความปลอดภัยอย่างเพียงพอ

4. การจัดการบันทึก (Log)

ข้อมูลกิจกรรมดิจิทัลทั้งหมดของเครือข่ายจะถูกบันทึกและจัดเก็บโดย SOC เพื่อช่วยทีมในการกำหนดเกณฑ์พื้นฐานว่า อะไรคือสิ่งปกติ และอะไรที่เป็นเหตุการณ์ผิดปกติ อีกทั้งการบันทึกยังช่วยให้ SOC ค้นหาจุดอ่อนหรือกิจกรรมเฉพาะหลังจากการโจมตีทางไซเบอร์ ช่วยระบุพื้นที่ที่ต้องปรับปรุงและชี้จุดที่ถูกโจมตี ข้อมูลที่บันทึกไว้ควรได้รับการตีความและวิเคราะห์อย่างถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อตัดสินใจด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ดีขึ้น

5. การปฏิบัติตามกฎระเบียบ

SOC ต้องช่วยให้องค์กรมั่นใจได้ว่าขั้นตอนและการเฝ้าระวังทั้งหมดเป็นไปตามระเบียบที่กำหนด ไม่ว่าจะเป็นตัวบริษัทเอง กฎข้อบังคับของรัฐบาล หรือกฎของอุตสาหกรรมก็ตาม เช่น GDPR, PCI DSS และ HIPAA เป็นต้น โดยการปฏิบัติตามกฎระเบียบเหล่านี้อย่างถูกต้อง สามารถทำได้ด้วยการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ และจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยแก่ข้อมูลลูกค้า อีกทั้งยังป้องกันบริษัทจากความเสียหายทางกฎหมายและชื่อเสียง นอกจากนี้ SOC ยังมีหน้าที่ในการแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและลูกค้าทราบทันทีหากมีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

6. การตอบสนองต่อเหตุการณ์

การตอบสนองต่อเหตุการณ์ หมายถึง การดำเนินการด้านการรักษาความปลอดภัยทันทีโดยทีม SOC ซึ่งหลังจากพบภัยคุกคาม SOC มีหน้าที่แยกผู้โจมตี (Threat Actor) พร้อมรักษาความปลอดภัยในจุดปลายทางและแอปพลิเคชันเป็นอันดับแรก จากนั้นต้องลบไฟล์ที่ติดไวรัสและเรียกใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส พร้อมทั้งแยกเครือข่ายทั้งหมดออกจากภัยคุกคาม เป้าหมายของแผนตอบสนองต่อเหตุการณ์คือการจำกัดความเสียหายและรักษาความต่อเนื่องในการดำเนินงานให้มากที่สุด

7. การจัดลำดับความสำคัญของการแจ้งเตือน

SOC ยังรับผิดชอบในการจัดลำดับเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ตามระดับความรุนแรง ช่วยให้ทีมสามารถจัดลำดับความสำคัญของภัยคุกคามที่มีความเสียหายมากกว่า ทำให้สามารถจัดสรรทรัพยากรในการแก้ไขปัญหาและยกระดับความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

8. การจัดการข่าวกรองภัยคุกคาม (Threat Intelligence Management)

การเตรียมพร้อมเป็นส่วนสำคัญของ SOC สมาชิกทุกคนต้องติดตามข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับภัยคุกคามและการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้น ข่าวกรองภัยคุกคามจะช่วยให้มั่นใจว่า SOC พร้อมรับมือกับมัลแวร์ การโจมตี หรือการละเมิดในรูปแบบต่างๆ

9. Root Cause Investigation

การสืบหาสาเหตุเป็นส่วนสำคัญของการตอบสนองต่อเหตุการณ์ของ SOC โดยทีมต้องค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของเหตุการณ์หลังจากที่เกิดขึ้น โดย SOC จะอาศัยการติดตามบันทึกและข้อมูลอื่นๆ ที่รวบรวมไว้เพื่อค้นหาว่าเกิดอะไรขึ้น เกิดขึ้นที่ไหน เกิดขึ้นอย่างไร และทำไมจึงเกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ทีมปรับปรุงจุดอ่อนและประเมินความมั่นคงทางไซเบอร์และโปรโตคอลที่มีอยู่

10. การกู้คืนและแก้ไข

หลังจากเกิดเหตุการณ์ ทีม SOC ต้องวางแผนในการกู้คืนการดำเนินงานอย่างรวดเร็วและกู้คืนข้อมูลที่ถูกขโมย ต้องทำความสะอาดและรักษาความปลอดภัยเครือข่ายทั้งหมด ดำเนินการสำรองข้อมูลและกู้คืนจากภัยพิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นตอนนี้ยังรวมถึงการสื่อสารกับผู้บริหารและหารือเกี่ยวกับตัวเลือกด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ดีขึ้นหากจำเป็น

บทบาทของสมาชิกในทีม Security Operations Center

จากที่กล่าวไปข้างต้น เราจะเห็นว่าสมาชิกใน SOC มีหน้าที่ความรับผิดหลากหลายด้านในองค์กร ตั้งแต่การเฝ้าระวังและการตอบสนองต่อเหตุการณ์ ไปจนถึงการแก้ไข การปฏิบัติตามกฎระเบียบ และการประสานงาน ทำให้งานเกี่ยวกับ SOC เป็นงานที่มีความท้าทาย ด้วยเหตุนี้ การมีทีมผู้เชี่ยวชาญที่เข้าใจถึงบทบาทของตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยทีม SOC สามารถแบ่งออกเป็นบทบาทต่างๆ ดังนี้

  • ผู้จัดการ SOC (SOC Manager): ผู้จัดการ SOC มีหน้าที่มอบหมายงาน ดูแลการปฏิบัติงาน และรายงานต่อประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายความปลอดภัยสารสนเทศ (Chief Information Security Officer)
  • วิศวกรด้านความปลอดภัย (Security Engineers): เป็นสมาชิกที่สร้างและดูแลรักษาโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยทั้งหมด โดยจะทำงานใกล้ชิดกับนักพัฒนาและทำให้มั่นใจว่าองค์กรใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุดที่มีอยู่ เช่น Sangfor Platform-X และเครื่องมืออื่นๆ
  • นักวิเคราะห์ความปลอดภัย (Security Analysts): มักเป็นกลุ่มแรกที่ต้องรับมือกับภัยคุกคามหรือเหตุการณ์ทางไซเบอร์ มีหน้าที่ตรวจจับ สืบสวน และจัดการเบื้องต้นเมื่อเกิดการโจมตีทางไซเบอร์ ข้อค้นพบจากสมาชิกกลุ่มนี้จะแจ้งให้ SOC ทราบถึงขั้นตอนต่อไปในการรักษาความปลอดภัยเครือข่าย กลุ่มนี้ประกอบด้วยนักวิเคราะห์ SOC ทั้งระดับจูเนียร์และอาวุโส นักสืบสวน และผู้ตอบสนองต่อเหตุการณ์
  • นักล่าภัยคุกคาม (Threat Hunters): การล่าภัยคุกคามเป็นแผนกหนึ่งในทีม SOC สมาชิกกลุ่มนี้มีทักษะในการวิเคราะห์ความปลอดภัยและทดสอบการเจาะระบบ นักล่าภัยคุกคามสามารถทำงานร่วมกับทีมทั้งด้านเทคนิคและไม่ใช่ด้านเทคนิคเพื่อช่วยองค์กรป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์
  • ผู้จัดการข่าวกรองภัยคุกคามทางไซเบอร์ (CTI Manager): สมาชิกทีมนี้จะรับผิดชอบการรวบรวมและดูแลข้อมูลภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เป็นประโยชน์ เพื่อนำมาพัฒนาเครื่องมือและกลยุทธ์ที่สามารถคาดการณ์ภัยคุกคามและสนับสนุนการตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม

นอกจากหน้าที่ความรับผิดชอบเหล่านี้ หนึ่งในข้อดีของ SOC คือ ความยืดหยุ่นในการปรับขนาดทีม โดยขึ้นอยู่กับขนาดของบริษัท ศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัยอาจมีทีมขนาดใหญ่ขึ้นที่ทำหน้าที่ในบทบาทอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์กร

SOC (Security Operations Center) คืออะไร?

โซลูชันด้านความปลอดภัยจาก Sangfor

การสร้างศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัย หรือ SOC ที่มีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรของคุณ และยิ่งไปกว่านั้น คือ การเตรียมพร้อมทีมด้วยโซลูชันและแพลตฟอร์มด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มีคุณภาพ โดย Sangfor Technologies เป็นผู้นำด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ และการประมวลผลแบบคลาวด์ (Sangfor Platform-X) ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพทีม SOC ของคุณ เราเข้าใจถึงภัยคุกคามที่มีอยู่และรู้วิธีรักษาความปลอดภัยให้องค์กรของคุณ ด้วยโซลูชันที่เป็นเอกลักษณ์ ครบวงจร และมีประสิทธิภาพสูง ได้แก่

  • Cyber Command (NDR) จาก Sangfor ช่วยในการเฝ้าระวังมัลแวร์ เหตุการณ์ด้านความปลอดภัยตกค้าง และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตในเครือข่ายของคุณ พร้อมด้วยอัลกอริทึม AI ขั้นสูงที่คอยอัปเดตข้อมูลเกี่ยวกับช่องโหว่หรือภัยคุกคามที่ตรวจพบในระบบอย่างสม่ำเสมอ
  • เทคโนโลยี Endpoint Secure ขั้นสูงของเรายังมอบการป้องกันแบบบูรณาการจากการติดมัลแวร์และการโจมตีขั้นสูงแบบต่อเนื่อง (APT) ครอบคลุมทั้งเครือข่ายขององค์กร พร้อมการจัดการ การดำเนินงาน และการบำรุงรักษาที่ง่ายดาย
  • บริการ Incident Response ของเรามุ่งเน้นการกำจัดและป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์อย่างยืดหยุ่น รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยเน้นที่การค้นหาและกำจัดภัยคุกคาม พร้อมทั้งดำเนินการกู้คืนจากภัยพิบัติเชิงรุกและให้การวิเคราะห์ที่ปรับแต่งเพื่อช่วยปกป้องบริษัทของคุณจากการโจมตีทางไซเบอร์ในอนาคต
  • เรายังนำเสนอโซลูชัน Security Assessment ในการประเมินความปลอดภัยเพื่อให้มั่นใจในความสามารถขององค์กรในการกู้คืนจากเหตุการณ์ นอกจากนี้ Sangfor ยังมีเครื่องมือตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามขั้นสูงที่หลากหลาย ซึ่งสามารถทำงานร่วมกันและประสานงานกับ Security Operations Center ของคุณเพื่อให้มั่นใจในการป้องกันที่ดีที่สุด

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชันด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และการประมวลผลแบบคลาวด์ของ Sangfor สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.sangfor.com/th

ติดต่อเราเพื่อสอบถามข้อมูลทางธุรกิจ

Search

Get in Touch

Get in Touch with Sangfor Team for Business Inquiry

Related Glossaries

Cyber Security

SWG (Secure Web Gateway) คืออะไร สำคัญต่อองค์กรมากน้อยแค่ไหน 

Date : 06 Dec 2024
Read Now
Cyber Security

Understanding Smurf Attacks: History, Impact, and Prevention Strategies

Date : 23 Nov 2024
Read Now
Cyber Security

What is a Hardware Wallet?

Date : 17 Nov 2024
Read Now

See Other Product

Sangfor Omni-Command
Replace your Enterprise NGAV with Sangfor Endpoint Secure
Cyber Command - NDR Platform - Sangfor Cyber Command - แพลตฟอร์ม NDR
Sangfor Endpoint Secure
Internet Access Gateway (IAG)
Sangfor Network Secure - Next Generation Firewall (NGFW)